4.1 อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่ Mouse, Keyboard และ Scanner
Keyboard
จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่ง Keyboard จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี Keboard ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน
ลักษณะการทำงานของ Keyboard
ใช้ Keyboard controller เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key) ถูกกด และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard buffer เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด และ Keyboard controller จะส่ง Interrupt Request ไปยัง System Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และ Keyboard แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา
Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้ลดการตึง เกร็ง การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ โดย Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ
Mouse
ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click) ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ
- Click
- Double Click
- Right Click
- Drag and Drop
ประเภทของ Mouse
Mechanical mouse: ใช้ลูกบอลเล็ก ๆ ในการกลิ้ง-หมุน ซึ่งลูกบอลจะอยู่ใต้ mouse
Optical mouse : ใช้ลำแสงควบคุมการเคลื่อนที่ของ mouse
Cordless mouse : เม้าส์ไร้สาย ใช้เคเบิลส่งคลื่นแสง infrared หรือคลื่นวิทยุ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
การทำงานของ Mouse
มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอล
และจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่ ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน หมุนไปมากน้อย
แค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook
Trackball
มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ ใช้การหมุนลูกบอลในการ
ทำงาน ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop ทำงานโดยการหมุนลูกบอล
โดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ
Joystick
มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer โดยใช้การกด
ไกปืนเพื่อทำงาน
Touchpad
มีรูปทรง 4 เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click) สามารถเลื่อน pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Notebook
Pointing stick
เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด วางอยู่กึ่งกลาง keyboard ใช้การ
หมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer
Graphics tablet
ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง วางอยู่บนกระดาน (Board) ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ หรือบทสรุปต่าง ๆ
Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์
Touch screen
จอสัมผัส เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output ใช้นิ้วมือ
สัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input เข้าสู่ระบบ ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคน
จำนวนมาก ๆ เช่น นำตู้ ATM แบบ Touch screen ไปวางในห้างสรรพสินค้า
การทำงานของ Touch screen จะใช้ Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น layer ละ 2 เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง 2 layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller
Pen-based computing
ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล พบในเครื่อง PDA และ Pocket PC
การทำงาน สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ PDA หรือ Pocket PC ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้
Scanner
ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ ตัวเลข และสัญลัษณ์ต่าง ๆ
Flatbed scanner : จะ scan ครั้งละ 1 หน้า สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้
Sheetfed scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan ต้องกลับด้านของกระดาษ
Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan แบบสั่น โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale) ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer) เครื่อง print bar code (Bar code printer) จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONO หรือ 10” COLOR MONITOR) keyboad ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard) รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก ป้ายแสดงจำนวนเงิน เครื่องลงเวลา (Access Control and Time) ลิ้นชักควบคุม
(Cash Drawer) เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
Bar Codes Readers
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers) เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ เช่น อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้ รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC) โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code) สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1 และแคบแทนค่าเป็น 0 การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ
ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
Hand held scaner : การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ
Cash Register scaner : มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร
Optical Mark Readers (OMR)
เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers) เช่น การอ่านข้อมูลบัตร Credit หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้
Optical Character Recognition (OCR)
เป็นซอฟต์แวร์ของ Scanner แบบตัวอักขระ (text) ซึ่งเป็น software ที่ต้องจัดหาหรือซื้อเพิ่มเพื่อการใช้งาน
Magnetic Ink Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Recognition : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค ใช้ตรวจสอบการลายเซ็น หรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค
Smart Cards Reader
เครื่องอ่าานบัตร Smart Cards ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ มีหน่วยความ
จําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร
Terminal
ประกอบด้วยจอภาพ คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์หลัก ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลและการสืบคืนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หลัก จำแนก Termianl ได้ 3 ประเภทดังนี้
1. Dumb terminal ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงอย่างเดียว
2. Smart terminal มีขีดความสามารถสูงกว่าชนิดแรก ทําหน้าที่รับส่งข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลที่
ผิดพลาดได้
3. Intelligent terminal เป็นการนําไมโครคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องเทอร์มินอล มีการรับส่ง แก้ไขข้อมูลได้ และยังสามารถประมวลผลด้วยตัวเองได้ มีขีดความสามารถสูงสุด
Voice Input Devices
รับเสียงพูดของ User ส่งเข้าไปใน computer อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล binary โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System) ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน (Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร ระบบจะ “เรียนรู้” เสียงของ User เอง ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง จะมีการแบ่งคำของ user และระบบคำแบบต่อเนื่อง โดย User สามารถพูดได้เป็นปกติ
Digital Camera
ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน Chip ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์
และแก้ไขภาพด้วย software รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs หรือ DVDs ภาพจะมี
ความละเอียดหลายล้าน pixels จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory card ได้
การทำงานของ Digital Camera จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus ผ่านเลนส์ และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า CCD CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog) เพื่อนำไป ผ่าน ADC ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ
Video Input Device
จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง
4.2 อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
Output: คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor) และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน ได้แก่ Monitor และ Printer
Screen (monitor)
สามารถแสดงผลข้อความ (Text) ตัวเลข (Number) รูปภาพ (Image) เสียง (Sound) และ VDO แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ การแสดงผลทาง Screen output จะเรียกว่า soft copy สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่
Cathode ray tube (CRT)
แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics) ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี ส่วนจอ monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำ) ใช้ Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้ user มองเห็น
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1. Scan rate : อัตราความถี่ในการ refresh ภาพ ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)
จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second) ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh 72 Hz / วินาที
2. Resolution : ความละเอียดของจอภาพ ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น pixels (จำนวนจุดในการ
เกิดภาพ) ถ้ามีจำนวน pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards) มี 2 แบบ ได้แก่
- จอภาพ VGA (Video Graphics Array) แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ 640*480 มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
- จอภาพ Super VGA (SVGA: Super Video Graphics Array) แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ] หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า SVGA ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า VGA
3. Dot pitch : คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots)
ได้แก่ (red, green, blue) แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter) dot pitch จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4. RAM-Card memory : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ ถ้ามี RAM-Card มาก (high-
speed) ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15”
(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”) โดยวัดตามมุมทแยงของจอ จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17” มักเซตค่าความละเอียด ตั้งแต่ 640*480 ถึง 1280*1024
Flat-panel screens
Liquid crystal display (LCD) ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptops ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers) มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น) ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images) และข้อความ (Text) มากกว่าจอ CRTs มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs
Smart displays
ใช้หลักการพื้นฐานของ Flat-panel technology โดยมี processor ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น (http://www.nectec.or.th/bid/hotissue_5equip.htm)
Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า “hard copy” และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ กระดาษแนวตั้ง (Portrait) และกระดาษแนวนอน (Landscape)
สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่
1. Impact printer
2. None-impact printer
Impact Printers
สร้างภาพออกทางกระดาษ โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่ Dot-matrix printer
Dot-matrix printer
ใช้การกระทบของหัวเข็ม ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น
เส้น (line) ให้เห็นเป็นภาพ
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น ซึ่งในอดีต Dot Matrix จะมีหัวเข็ม (pin) 9 หัวเข็ม เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ แต่ถ้าเป็น Dot Matrix ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2. ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที 500 cps
None-impact Printers
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ Laser printer และ Ink-jet printer
Ink-jet printer
ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ สามารถ Print ได้ทั้งภาพขาว-ดำ
และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ ราคาเครื่องถูกว่า laser printers แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser printer
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1. ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4 ppm
2. ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่ 300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4. ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser printer รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)
Laser printer
เป็นเครื่อง Print ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่ 300 – 1200 dpi
หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์
สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3. คุณภาพในการพิมพ์ (quality ) : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printers
แต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้ ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน ดังนี้
1. ค่าหมึกพิมพ์ สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีฝากรวยสำหรับเติม หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย
หมึกเติม Ink-jet Printer
หมึกเติม Laser Printer
2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด
นอกจากอุปกรณ์ Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล เช่น อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ Music
Voice Output Device
อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Device) จะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง (Voice
synthesizers) เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง
Music Output Device
เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ Multimedia เกม (games) และ VDO ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียง
โดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ
ระบบเสียง (Sound Systems)
เครื่อง PC ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card) ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์
Central Processing Unit(CPU)
CPU เป็นอุปกรณ์ ที่เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ ในการประมวลผลคำสั่ง ที่เราป้อนเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ CPU ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันมากมาย จากหลายผู้ผลิต และหลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็จะเป็น CPU จากค่าย Intel ซึ่งผลิต CPU มาตั้งแต่รุ่น 4040, 4044, 8080, 8088, 80286, 80386, 80486, Pentium, Pentium Pro,... Pentium II, Pentium II Xeon, Celeron, Pentium III, Pentium III Xeon Celeron II, Pentium IV และล่าสุดกับ Pentium Duo ซึ่งปัจจุบันความเร็วของ CPU สูงถึง 1.5 GHz (1500 MHz) นอกจาก CPU จากทางด้าน Intel แล้วยัง มีจากผู้ผลิตรายอื่นอีกเช่น AMD (Advance Micro Device) จัดเป็นผู้ผลิต CPU รายใหญ่อันดับสอง CPU ที่เด่นใน ช่วงนี้ของ AMD คือ Duron และ Thunderbird ซึ่งเป็น CPU ราคาถูกและ มีประสิทธิภาพสูง และยังมีผู้ผลิตอย่าง Via (Cyrix) ซึ่งผลิต CPU ตระกูล MI, MII, MIII จัดเป็น CPU ระดับต่ำราคาถูก
Harddrive
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลหรือ Software ที่เราต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
Mother Board
เป็นแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จะเชื่อมต่อหรือติดตั้งบน Mother Board (Main Board) นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น บน Mother Board จะประกอบไปด้วย ChipSet 2 ตัว คือ North Bridge และ South Bridge ซึ่ง North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับ CPU เช่น Memory ส่วน South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์ I/O (Input and Output) และบน Mother Board ยังประกอบไปด้วย Expension Slot ซึ่งใช้เสียบ Card ต่าง ๆ เช่น VGA Card ซึ่ง Expension Slot มีด้วยกันหลายแบบ ที่พบเห็นกันอยู่ได้แก่ 1)ISA Slot ซึ่งจะเป็น Slot สีดำมีทั้งแบบ 8 bit และ 16 bit 2) EISA Slot (Vesa Local Bus) จะเป็น Slot สีดำ แบบ ISA และมีช่องสีน้ำตาลเพิ่มเข้ามา เป็นSlot 32 bit 3) PCI Slot จะเป็น Slot สีขาว มีทั้งแบบ 32 bit และ 64 bit ปัจจุบันเป็น Slot ที่ใช้มากที่สุด
Main Memory
เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่
1) SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPage และยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น2) DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAM ที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน 3) RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAM เป็น RAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, และ 850i ใช้กับ Pentium III และ Pentium IV 4) DDR SDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีดความสามารถให้กับ SDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว 2 เท่า
5)VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC
Display Card
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณภาพ เพื่อแสดงผลภาพออกทางจอภาพ ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่น เกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากว่ามีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT และ ช่องต่อ Panel Monitor (LCD Monitor) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์
Sound Card
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการทำเป็น Home Theater Sound Card ในปัจจุบันจะสนับสนุนการต่อลำโพง 4 ตัว Card บางตัวยังมีตัวถอด รหัส Dolby Digital ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียงรอบทิศทางที่ใช้ในภาพยนตร์ และยังสนับสนุนการสร้างเสียง 3 มิติ เพื่อสร้างความ สมจริงในการเล่น เกมส์อีกด้วย เมื่อก่อน Sound Card จะติดตั้งบน ISA Slot แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PCI Slot ซึ่งทำให้ทำงาน ได้เร็วขึ้น และใช้การทำงานของ CPU น้อยลง เพิ่ม Function การทำงานได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงมากด้วย
CD-rom Drive
ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มีอยู่ 2 แบบ คือการหมุนด้วยความเร็วคงที่ และการหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่ ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบ CDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลแบบคงที่ตลอด แต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueX ซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจนความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับในปัจจุบัน นี้ DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ CDROM DRIVE
Case
Case เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดค้นรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาดปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีการป้องกันไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับชนิดของ Mother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น
CPU Fan
พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากว่า CPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิดความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพได้ ปัจจุบันพัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมาใช้เป็นวัสดุแทนอลูมิเนียม เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อช่วยระบายความร้อน
Monitor
Monitor เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(monitor ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดีกว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่าจอปกติพอสมควร ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต
Mouse
Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปคือตำแหน่งที่มีการ Click ซึ่ง Mouse มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่1)Mouse แบบปกติ ที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม 2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณและมีตัวรับสัญญานที่ต่อกับเครื่องคอม
3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse ใช้การอ่านค่าจากการสะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว
4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน
Keyboard
keyboard เป็นอีกหนึ่ง Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีต keyboard จะมี key อยู่ 101-102 key แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวนมากทำให้มี key เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของคนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่ม function Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volume ของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น
Floppy Drive
Floppy Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Drive แล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive, Jazz Drive, SuperDrive และล่าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที
CAM
เป็นอุปกรณ์ Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นหน้าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้
Scanner
Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำ Function ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพ (Attach) กับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan
Printer
Printer เป็นอุปกรณ์ Output Device ซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 แบบ คือ
Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ไม่เน้นความปราณีต
Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วและพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ๆ
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดมีความละเอียดสูงแต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพง เหมาะกับงานทุกประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์และเน้นความปราณีต
Speaker
ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบรอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียง Digital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF เพื่อรองรับการ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียงให้ดียิ่งขี้น
Power Supply
Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt
Modem
Modem เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็นสัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งในคอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้องใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบนสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น คือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี ADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับ Digital Modem หรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slot หรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี 2 แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus) ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
Network Card
Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Ethernet, ATM, ISDN) และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ (Bus, Star, Ring) เป็นต้น
(http://www.arc.dusit.ac.th/be/index.php?main=006)
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1. จอภาพ LCD กับ CRT ต่างกันอย่างไร จงประเมินประสิทธิภาพ
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
2. ประเมินข้อดี – ข้อเสียของเครื่องพิมพ์แบบ Impact Printer กับ None-impact Printer
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
3. จงบอกชื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อ ที่นำมาใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มา 5 ชื่อ
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
4. จงยกตัวอย่างคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ มา 4 ตัวอย่าง พร้อมทั้งอธิบายหน้าที่การทำงาน(ไม่ซ้ำกับข้อ 3)
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
ปรับปรุง : เพิ่มเติม
LCD Monitor = Liquid Crystal Display
เป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น
เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Passive Matrix หรือ Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
2. Active Matrix หรือ Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก
จุดเด่นของ LCD
1. ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา ด้วยการทำงานที่ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบบ CRT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วยให้ประหยัดพื้นที่มากยิ่งขึ้น
2. พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่ จากเทคโนโลยีพื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CRT (CDT) ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
3. ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
4. ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตํ่ามาก
5. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CRT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
6. ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลาย ๆ แบบพร้อมกัน เนื่องด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพซ้อนจากหลายแหล่งข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆ ตัวมาใช้งาน
(http://www.bcoms.net/hardware/lcd.asp)
CRT Monitor = Cathode Ray Tube
การทำงานของจอประเภทนี้จะอาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอน ไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ
จอแบบ Shadow Mask จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็ก ๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad(ไทร-แอด :กลุ่มที่ประกอบด้วย 3 สี)
จอแบบ Trinitron จะมีการทำงานที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมาก (http://www.buycoms.com/upload/guide/CRT/CRT.htm)
จำแนกประเภทของเครื่อง Printer
1) เครื่องดอตเมตริกซ์พรินเตอร์ (Dotmatirx Printer)2) เครื่องฟิล์มพรินเตอร์ (Film Printer)3) เครื่องอิงค์เจ็ตพรินเตอร์ (Inkjet Printer) 4) เครื่องมินิพรินเตอร์ (Mini Printer)5) เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ (Laser Printer)6) เครื่องไลน์พริเตอร์ (Line Printer)7) เครื่องมัลตฟังก์ชัน (Multifunction Printer) หรือ All-In-One (AIO)8) เครื่องพล็อตเตอร์ (Plotter)
Dotmatix Printer เหมาะสำหรับห้างร้าน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องพรินเตอร์ที่สามารถ ทำสำเนาได้เครื่องชนิดนี้จะพิมพ์โดยใช้หัวเข็มกระทบลงไปที่กระดาษ ต้องซื้อผ้าหมึกและทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินได้มาก เนื่องจากผ้าหมึกมีอายุการใช้งานสูงกว่าใช้น้ำหมึกหลายเท่า เหมาะกับการพิมพ์ใบเสร็จต่างๆ และงานพิมพ์ทั่วไป
ในด้านการใช้งาน ตัวเครื่องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้กับกระดาษหลายประเภท ค่าความละเอียดในการพิมพ์อยู่ที่ 360*360 จุดต่อตารางนิ้วทั้งหมด จำนวนหัวเข็มมีตั้งแต่ 24 , 32 หัวเข็ม หัวเข็มมากความละเอียดก็จะเพิ่มขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรมีตั้งแต่ 192 ต่อCPS, 240, 264, 300, 360, 375, 390, 400, 432, 450 จนถึง 504 ต่อCPS (CPS คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรต่อนิ้ว)
จำนวนสำเนาที่สามารถพิมพ์ได้ เช่น 1 ต้นฉบับ 3 สำเนา, 1 ต้นฉบับ 4 สำเนา ไปจนถึง 1 ต้นฉบับ 7 สำเนา ใช้กระดาษต่อเนื่อง ความกว้างของกระดาษก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะถ้าความกว้างไม่พอก็ทำให้ไม่สามารถพิมพ์งานได้
Inkjet Printer (เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยรวม สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้)
เหมาะสมกับผู้ใช้ทั่วไปทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุด
มีราคาตั้งแต่หลักพัน-หลักหมื่น เครื่องชนิดนี้จะพิมพ์งานโดยใช้ตลับน้ำหมึก เวลาเลือกซื้อต้องดูด้วยว่า เครื่องรุ่นนั้นใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหน รุ่นอะไร ตลับสีและดำราคาเท่าไร แต่ละยี่ห้อราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป
คุณภาพของน้ำหมึกจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย รุ่นตลับสีแบบรวมจะมีข้อเสียถ้าสีหนึ่งสีใดหมดต้องเปลี่ยนทั้งตลับ หากผู้ใช้เน้นทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ ควรใช้ตลับหมึกสีแบบแยก
ค่าความละเอียดต้องไม่ต่ำกว่า 1200*1200 จุดต่อตารางนิ้ว แต่สำหรับผู้ที่ทำงานกราฟิกควรอยู่ที่ 4,800 * 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ขนาดช่องใส่กระดาษก็ปกติ A4 หากมีทุนหน่อยก็ เลือกเครื่องที่ใส่กระดาษขนาด A3 ได้ด้วย
Laser Printer ( เหมาะกับการใช้งานร่วมกันในผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความละเอียด สำนักงานขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มี งานเอกสารปริมาณที่มาก)
แตกต่างกับ Inkjet อย่างเห็นได้ชัด ในเรื่องของปริมาณการพิมพ์ เครื่องชนิดนี้จะสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า ใส่กระดาษได้มาก รวดเร็วกว่า มีความคมชัดสูงทั้งพิมพ์สี และขาวดำ และยังสามารถแชร์การทำงานกับผู้ใช้หลายคนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ในเรื่องของราคาอาจจะมีราคาสูงนิดหน่อย แต่ก็คุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ส่วนในการเลือก ซื้อควรดูที่ฟังก์ชันการทำงานเป็นหลักว่าเหมาะสมกับงานของเราหรือไม่ ถ้ามีฟังก์ชันมากก็จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น สำหรับในการทำงานร่วมกันหลายคน
เลเซอร์พรินเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ขาว-ดำ (Monochome Laser Printer) และเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์สี (Color Laser Printer) เครื่อง Laser มีความละเอียดทั้งแต่ 600 * 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1,200*x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ในโหมดขาว – ดำ พิมพ์ได้ตั้งแต่ 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนโหมดสีตั้งแต่ 6 แผ่นต่อ นาทีขึ้นไป
หน่วยความจำของเครื่องพรินเตอร์ มีตั้งแต่ 8 MB, 16 MB, 32 MB ไปจนถึง 96 MB โทนเนอร์(น้ำยา:หมึก) ก็มีส่วนสำคัญ ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็จะไม่คุ้มค่าที่จะใช้งาน กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้ กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น