วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 7 การจัดการข้อมูล

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
3.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูลและอุปกรณ์จะนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้างและใช้ปัจจัยใดบ้างในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดนั้นในการสำรองข้อมูล
ตอบ ควรสำรองข้อมูลกันข้อมูลสูญหาย เมื่อข้อมูลเหล่าสูญหายก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช่แทนได้


อ้างอิง http://office.microsoft.com

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบปฏิบัติการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบปฏิบัติการ
๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP สามารถย้ายจากเครืองเก่าไปเครื่องใหม่ได้ หรือคือตัวที่สามารถ เปลี่ยนลงได้ 5 ครั้ง ในกรณีเครื่องเดียวกันกี่ครั้งก็ได้
OEM ไม่สามารถย้ายไปเครื่องใหม่ได้ หรือคือตัวที่สามารถลงได้ครั้งเดียว และจะตายไปพร้อมกับเมนบอร์ท(ถ้าเมนบอร์ทเสีย)
ซื้อแบบ FPP เพราะ ถ้าเครื่องเก่าเสียหายหรือพังก็สามารถย้ายข้อมูลใส่เครื่องอื่นได้


อ้างอิง http://www.notebookspec.com

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟต์แวร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟต์แวร์
กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน

๑. บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ ซอฟต์แวร์หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

อ้างอิง http://www.benchama.ac.th
๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ภาษคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งที่สามารถทำให้มนุษย์กับคอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้ ซึ่งมีตัวแลภาษามาเกี่ยวข้องเพื่อให้มนุษย์กับคอมพิวเตอร์สามารถที่จะสื่อสารกันได้

อ้างอิง http://th.wikipedia.org
๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลได้
ตอบ ตัวแปลภาษาจะทำการแปลชุดคำสั่งจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

อ้างอิง http://th.wikipedia.org
๑.ให้นักเรียนหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยหาความหมายของคำว่า"Open Source" และบอกซอฟต์แวร์โอเพนซอฟต์ที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบOpen Source คือซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ เช่น- Linux- 7-zip- pdfcreator๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าวตอบ +Cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร(font)คุณสมบัติง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมก็จะดึงFont ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังตับใช้ในปัจจุบันตอบลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ“สิทธิในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยินยอมให้ผู้ใช้ปลายทางใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ตามรายละเอียดและเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตใช้งานสำหรับผู้ใช้ปลายทาง (End User License Agreement: EULA)”๔.ให้นักเรียนเสสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ตอบ ไม่เห็นด้วย เพราะ ในการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ในสถานศึกษาเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคคลากรในสถานศึกษามากมายจึงไม่ควรให้จ่ายค่าลิขสิทธ์

อ้างอิง http://th.wikipedia.org

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์
การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดัง นั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM "แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ? เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้นแล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภทล่ะ ? โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุม โดย Control bus
อุปกรณ์แสดงผล
อุปกรณ์แสดงผล
มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1. อุปกรณ์แสดงผลชั่วคราว หมายถึง หน่วยที่แสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไปคะ ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องฉายภาพ หูฟัง
2. อุปกรณ์แสดงผลถาวร หมายถึง หน่วยแสดงผลที่แสดงผลออกมาให้ผู้ใช้สามารถจับต้องได้ และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการคะ มักจะออกมาในรูปของกระดาษซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ ได้ อุปกรณ์เหล่านี้ก็ได้แก่ เครื่องพิมพ์ เครื่องพลอตเตอร์คะ

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์ สื่อบันทึกข้อมูลและเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล
1. Floppy Disk
แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)
ฟลอปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถือได้ว่าอยู่ยั่งยืนมานานแสนนานและยังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในอดีตฟลอปปี้ดิสก์จะมีขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งเป็นแผ่นใหญ่บรรจุข้อมูลได้ 1.2 เมกะไบต์จะบรรจุได้น้อยกว่าฟลอปปี้ดิสก์รุ่นใหม่ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะบรรจุข้อมูลได้มากกว่า 1.44 เมกะไบต์ในขนาดของแผ่นที่เล็กกว่า
1.1 ระบบการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์
กลไกการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์จะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์ ( Mylar ) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูลและจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรมทีละบิตต่อเนื่องกัน ขณะที่ฟลอปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟลอปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
1.2 ความจุของฟลอปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
ขนาด
แบบที่เรียกว่า
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.2 นิ้ว
Single sided-Double Density
1
160/180 KB
5.2นิ้ว
Double sided-Double Density
2
320/360 KB
5.2นิ้ว
HD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Single Density
2
720 KB
3.5 นิ้ว
Double sided-High Density
2
1.44 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้ว
Floptical Disk
2
120 MB

2. Harddisk
ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง ( hard disk ) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด ( motherboard ) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน ( PATA ) แบบอนุกรม ( SATA ) และแบบเล็ก ( SCSI ) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก ( eSATA ) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 ถึง 250 กิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.1 ประวัติของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น (เทียบกับระดับกิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,000 MB = 1GB ) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ ( fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ) หรือ วินเชสเตอร์ ( Winchesters ) ซึ่งเป็นชื่อที่ IBM เรียกผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ ( จานบันทึกแบบแข็ง ) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ ( จานบันทึกแบบอ่อน )
2.2 การควบคุมฮาร์ดดิสก์
Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.2.1 IDE (Integrated Drive Electronics)
ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายข้อมูลต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ใน
แผงตัวควบคุม
2.2.2 SCSI (Small Computer System Interface)
เป็น Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว
2.2.3 Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น วันนี้บริษัท Intel Seagate และบริษัทอื่นๆ คอยช่วยกันพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่
Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA
Serial ATA II ของทาง Seagate คาดว่าจะออกวางตลาดภายในปี 2546 และจะทำงานได้กับ Serial ATA 1.0 ทั้งทางด้าน products และ maintain software
3. CD-ROM Drive
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
3.1 การทำงานของ CD-ROM
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
3.2 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมาตรฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป
3.3 แคชและบัฟเฟอร์
ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัฟเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัฟเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิสก์ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านข้อมูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก
ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง
3.4 อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม
อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากกว่า
ไดรว์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อินเตอร์เฟตเพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก

3.1 ชนิดของ CD-ROM
3.1.1 ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
ซีดีรอมไดรว์จะมีการบอกเสปคเป็น ”x” เดี่ยวๆ เช่น48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ที่ความเร็ว 48x และ 52 x ตามลำดับ
3.1.2 ชนิดที่สามารถอ่านและเขียนบันทึกข้อมูลได้
ซีดีอาร์ไดรว์
CD-R Driveย่อมาจาก
CD Recordable Driveซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยังสามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ที่เป็นแผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2 ตัว เช่น 4x24 หมายถึงเขียนข้อมูลได้ที่ 4 x ละอ่านข้อมูลได้ที่ 24x เป็นต้น
3.1.3 ชนิดที่สามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้
ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ CD-RW Drive ย่อมาจาก CD-ReWritable Drive ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปคออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขียน CD-RW ได้ที่ความเร็ว 12x และอ่านข้อมูลได้ที่ 32x
4. DVD-ROM Drive
ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
4.1 คุณสมบัติของดีวีดี
4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
4.2 ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
4.2.1 DVD-R
4.2.2 DVD+R
4.2.3 DVD-RW
4.2.4 DVD+RW
4.2.5 DVD-R DL
4.26 DVD+R DL
4.3 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW
ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่น DVD-RW ได้
4.4 โซนของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีที่ใช้บรรจุภาพยนตร์นั้น จะมีการบรรจุรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes) หรือ โซน (Zone) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นจะบรรจุรหัสไว้อย่างน้อย 1 โซน สำหรับแผ่นที่สามารถใช้ได้กับทุกโซน (All Zone) นั้น จะบรรจุรหัสเป็น1,2,3,4,5,6 นั่นเอง แผ่นพวกนี้ในบางครั้งนิยมเรียกว่าแผ่นโซน 0 โดยปกติเครื่องเล่นดีวีดี รวมถึงดีวีดีรอม ที่ผลิตในแต่ละประเทศ จะสามารถเล่นได้เฉพาะแผ่นที่ผลิตสำหรับโซนนั้นๆ และแผ่นที่ระบุเป็น All Zone เท่านั้น โซนพื้นที่
4.4.1 สหรัฐอเมริกา, แคนาดา
4.4.2 ยุโรป, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, ตะวันออกกลาง ( รวมถึง อียิปต์ )
4.4.3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( รวมถึง ประเทศไทย ), เอเชียตะวันออก ( รวมถึง ฮ่องกง แต่ไม่รวม จีน )
4.4.4 อเมริกากลาง, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย
4.4.5 ยุโรปตะวันออก, รัสเซีย, เอเชียใต้, แอฟริกา, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย
4.4.6 จีน
4.4.7 สำรอง
4.4.8 ยานพาหนะระหว่างประเทศ เช่น เรือ, เครื่องบิน
สำหรับโซน 2 (ยุโรป) อาจจะมีรหัสย่อยตั้งแต่ D1 จนถึง D4 โดย D1 คือจำหน่ายเฉพาะประเทศอังกฤษ, D2 และ D3 กำหนดว่าไม่จำหน่ายในอังกฤษและไอร์แลนด์ ส่วน D4 หมายถึงจำหน่ายได้ทั่วทั้งยุโรป ในหนึ่งแผ่นดีวีดีสามารถใส่รหัสโซนรวมกันได้หลายโซน โดยอาจมีรหัสโซน 3/6 เพื่อให้สามารถใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน
5. แฟลชไดรฟ์ (
Flash Drive)
แฟลชไดรฟ์ หรือ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของไดร์ฟมีตั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) บางรุ่นมีความจุสูงถึง 16 GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง “ทัมบ์ไดรฟ์” “คีย์ไดรฟ์” “จัมป์ไดรฟ์” และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
5.1 ชื่อเรียกอื่น
ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
5.1.1 คีย์ไดรฟ์ (key drive)
5.1.2 จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
5.1.3 ดาต้าคีย์ (data key)
5.1.4 ดาต้าสติ๊ก (data stick)
5.1.5 ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
5.1.6 ทัมบ์ไดรฟ์ (thumb drive)
5.1.7 ทัมบ์คีย์ (thumb key)
5.1.8 เพนไดรฟ์ (pen drive)
5.1.9 ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
5.1.10 แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
5.1.11 แฟลชดิสก์ (flash disk)
5.1.12 เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
5.1.13 ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
5.1.14 ยูเอสบีคีย์ (usb key)
6. เทคโนโลยี Blu-Ray
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
6.1 ประวัติบลูเรย์
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที 6.2 Blu-ray Player
แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blu-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน ( คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง ) แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blu-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blu-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blu-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blu-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blu-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD
Blu-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค), ธอมสัน, แอลจี, ฟิลิปส์, ไพโอเนียร์, ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
6.3 เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
6.3.1 โซนี่ เพลย์สเตชัน 3
6.3.2 โซนี่ รุ่น BDP-S1
6.3.3 ซัมซุง รุ่น BD-P1000
6.3.4 พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
6.3.5 ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
6.3.6 ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
6.3.7 ชาร์ป รุ่น DV-BP1
6.3.8 แอลจี รุ่น BD100
6.3.9 ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
6.4 Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโนโลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมี 4 เหตุผลสำคัญที่มาสนับสนุน ได้แก่
6.4.1 อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blu-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มีเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ iTunes ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือ ต้องมีเครื่อง Xbox ด้วย
6.4.2 Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจาก การดาวน์โหลด
6.4.3 การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blu-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blu-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blu-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย
6.4.4 การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรว์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน iTunes ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิสก์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงคือสัจธรรมอันเป็นนิรันดรที่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของเทคโนโลยีหรือโลกใดๆ ก็ตามแต่ไม่สามารถข้ามพ้นมันไปได้
7. เทคโนโลยี HD-DVD
HD DVD ( High Definition DVD หรือ High Density DVD ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง ( optical disc ) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ( high definition ) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม ( เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม. )
7.1 ประวัติของ HD DVD
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโย, ไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
7.2 ความจุของ HD DVD
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร )
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p
7.3 HD DVD Player
เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย นี่หมายความว่า Blu-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blu-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกม, มิวสิควิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้
8. Floptical Disk
เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ทีเดียว และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย ชื่อทางการค้าของ
Floptical Driveที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ SuperDisk จากบริษัท Imation
8.1 หลักการของ
Floptical Drive
หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่า optical servo (หรือบางทีเรียกว่า Laser servo)หรือวงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ตธรรมดามาก เช่น ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ใน Floptical disk จะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทำให้ได้ความจุรวมถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น Floptical disk หมุนด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมีอัตรารับส่งข้อมูล ประมาณ 3.2-5.4 เมกะบิตต่อวินาที
9. ZIP drive ของ Iomega Jazz drive
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายกัน แต่รูปแบบต่างกันไป เช่น Zip Drive จาก Iomega ที่ออกมาก่อน Superdisk แต่ได้รับความนิยมมากพอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับ Parallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก 100 เป็น 250 เมกะไบต์ Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบ SCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก
10. เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup )
เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลทีมีขนาดใหญ่ๆ ระดับ 10-100 กิกะไบต์
11. การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ ( Personal Data Assistant PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
4.1 อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่ Mouse, Keyboard และ Scanner

Keyboard
จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่ง Keyboard จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี Keboard ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน
ลักษณะการทำงานของ Keyboard
ใช้ Keyboard controller เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key) ถูกกด และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard buffer เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด และ Keyboard controller จะส่ง Interrupt Request ไปยัง System Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และ Keyboard แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา

Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้ลดการตึง เกร็ง การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ โดย Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ

Mouse
ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click) ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ
- Click
- Double Click
- Right Click
- Drag and Drop

ประเภทของ Mouse
Mechanical mouse: ใช้ลูกบอลเล็ก ๆ ในการกลิ้ง-หมุน ซึ่งลูกบอลจะอยู่ใต้ mouse




Optical mouse : ใช้ลำแสงควบคุมการเคลื่อนที่ของ mouse



Cordless mouse : เม้าส์ไร้สาย ใช้เคเบิลส่งคลื่นแสง infrared หรือคลื่นวิทยุ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์




การทำงานของ Mouse
มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอล
และจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่ ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน หมุนไปมากน้อย
แค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook

Trackball
มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ ใช้การหมุนลูกบอลในการ
ทำงาน ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop ทำงานโดยการหมุนลูกบอล
โดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ
Joystick
มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer โดยใช้การกด
ไกปืนเพื่อทำงาน


Touchpad
มีรูปทรง 4 เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click) สามารถเลื่อน pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Notebook


Pointing stick
เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด วางอยู่กึ่งกลาง keyboard ใช้การ
หมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer


Graphics tablet
ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง วางอยู่บนกระดาน (Board) ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ หรือบทสรุปต่าง ๆ

Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์


Touch screen
จอสัมผัส เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output ใช้นิ้วมือ
สัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input เข้าสู่ระบบ ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคน
จำนวนมาก ๆ เช่น นำตู้ ATM แบบ Touch screen ไปวางในห้างสรรพสินค้า
การทำงานของ Touch screen จะใช้ Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น layer ละ 2 เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง 2 layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller

Pen-based computing
ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล พบในเครื่อง PDA และ Pocket PC
การทำงาน สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ PDA หรือ Pocket PC ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้

Scanner
ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ ตัวเลข และสัญลัษณ์ต่าง ๆ
Flatbed scanner : จะ scan ครั้งละ 1 หน้า สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้





Sheetfed scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan ต้องกลับด้านของกระดาษ







Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan แบบสั่น โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale) ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer) เครื่อง print bar code (Bar code printer) จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONO หรือ 10” COLOR MONITOR) keyboad ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard) รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก ป้ายแสดงจำนวนเงิน เครื่องลงเวลา (Access Control and Time) ลิ้นชักควบคุม
(Cash Drawer) เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

Bar Codes Readers
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers) เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ เช่น อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้ รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC) โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code) สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1 และแคบแทนค่าเป็น 0 การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ

ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
Hand held scaner : การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ

Cash Register scaner : มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร





Optical Mark Readers (OMR)
เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers) เช่น การอ่านข้อมูลบัตร Credit หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้
Optical Character Recognition (OCR)
เป็นซอฟต์แวร์ของ Scanner แบบตัวอักขระ (text) ซึ่งเป็น software ที่ต้องจัดหาหรือซื้อเพิ่มเพื่อการใช้งาน

Magnetic Ink Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Recognition : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค ใช้ตรวจสอบการลายเซ็น หรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค

Smart Cards Reader
เครื่องอ่าานบัตร Smart Cards ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ มีหน่วยความ
จําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร


Terminal
ประกอบด้วยจอภาพ คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์หลัก ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลและการสืบคืนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หลัก จำแนก Termianl ได้ 3 ประเภทดังนี้
1. Dumb terminal ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงอย่างเดียว





2. Smart terminal มีขีดความสามารถสูงกว่าชนิดแรก ทําหน้าที่รับส่งข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลที่
ผิดพลาดได้




3. Intelligent terminal เป็นการนําไมโครคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องเทอร์มินอล มีการรับส่ง แก้ไขข้อมูลได้ และยังสามารถประมวลผลด้วยตัวเองได้ มีขีดความสามารถสูงสุด

Voice Input Devices
รับเสียงพูดของ User ส่งเข้าไปใน computer อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล binary โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System) ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน (Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร ระบบจะ “เรียนรู้” เสียงของ User เอง ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง จะมีการแบ่งคำของ user และระบบคำแบบต่อเนื่อง โดย User สามารถพูดได้เป็นปกติ











Digital Camera
ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน Chip ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์
และแก้ไขภาพด้วย software รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs หรือ DVDs ภาพจะมี
ความละเอียดหลายล้าน pixels จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory card ได้
การทำงานของ Digital Camera จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus ผ่านเลนส์ และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า CCD CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog) เพื่อนำไป ผ่าน ADC ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ

Video Input Device
จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง



4.2 อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
Output: คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor) และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน ได้แก่ Monitor และ Printer

Screen (monitor)
สามารถแสดงผลข้อความ (Text) ตัวเลข (Number) รูปภาพ (Image) เสียง (Sound) และ VDO แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ การแสดงผลทาง Screen output จะเรียกว่า soft copy สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่
Cathode ray tube (CRT)
แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics) ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี ส่วนจอ monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำ) ใช้ Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้ user มองเห็น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1. Scan rate : อัตราความถี่ในการ refresh ภาพ ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)
จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second) ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh 72 Hz / วินาที
2. Resolution : ความละเอียดของจอภาพ ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น pixels (จำนวนจุดในการ
เกิดภาพ) ถ้ามีจำนวน pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards) มี 2 แบบ ได้แก่
- จอภาพ VGA (Video Graphics Array) แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ 640*480 มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
- จอภาพ Super VGA (SVGA: Super Video Graphics Array) แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ] หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า SVGA ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า VGA
3. Dot pitch : คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots)
ได้แก่ (red, green, blue) แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter) dot pitch จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4. RAM-Card memory : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ ถ้ามี RAM-Card มาก (high-
speed) ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง




ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15”
(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”) โดยวัดตามมุมทแยงของจอ จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17” มักเซตค่าความละเอียด ตั้งแต่ 640*480 ถึง 1280*1024

Flat-panel screens
Liquid crystal display (LCD) ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptops ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers) มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น) ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images) และข้อความ (Text) มากกว่าจอ CRTs มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs

Smart displays
ใช้หลักการพื้นฐานของ Flat-panel technology โดยมี processor ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น (http://www.nectec.or.th/bid/hotissue_5equip.htm)

Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า “hard copy” และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ กระดาษแนวตั้ง (Portrait) และกระดาษแนวนอน (Landscape)

สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่
1. Impact printer
2. None-impact printer

Impact Printers
สร้างภาพออกทางกระดาษ โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่ Dot-matrix printer

Dot-matrix printer
ใช้การกระทบของหัวเข็ม ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น
เส้น (line) ให้เห็นเป็นภาพ




การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น ซึ่งในอดีต Dot Matrix จะมีหัวเข็ม (pin) 9 หัวเข็ม เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ แต่ถ้าเป็น Dot Matrix ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2. ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที 500 cps

None-impact Printers
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ Laser printer และ Ink-jet printer

Ink-jet printer
ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ สามารถ Print ได้ทั้งภาพขาว-ดำ
และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ ราคาเครื่องถูกว่า laser printers แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser printer

การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1. ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4 ppm
2. ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่ 300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4. ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser printer รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)
Laser printer
เป็นเครื่อง Print ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer

การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่ 300 – 1200 dpi
หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์
สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3. คุณภาพในการพิมพ์ (quality ) : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printers
แต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้ ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน ดังนี้
1. ค่าหมึกพิมพ์ สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีฝากรวยสำหรับเติม หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย




หมึกเติม Ink-jet Printer


หมึกเติม Laser Printer

2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด

นอกจากอุปกรณ์ Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล เช่น อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ Music

Voice Output Device
อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Device) จะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง (Voice
synthesizers) เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง

Music Output Device
เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ Multimedia เกม (games) และ VDO ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียง
โดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ


ระบบเสียง (Sound Systems)
เครื่อง PC ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card) ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
















สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์
Central Processing Unit(CPU)
CPU เป็นอุปกรณ์ ที่เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ ในการประมวลผลคำสั่ง ที่เราป้อนเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ CPU ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันมากมาย จากหลายผู้ผลิต และหลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็จะเป็น CPU จากค่าย Intel ซึ่งผลิต CPU มาตั้งแต่รุ่น 4040, 4044, 8080, 8088, 80286, 80386, 80486, Pentium, Pentium Pro,... Pentium II, Pentium II Xeon, Celeron, Pentium III, Pentium III Xeon Celeron II, Pentium IV และล่าสุดกับ Pentium Duo ซึ่งปัจจุบันความเร็วของ CPU สูงถึง 1.5 GHz (1500 MHz) นอกจาก CPU จากทางด้าน Intel แล้วยัง มีจากผู้ผลิตรายอื่นอีกเช่น AMD (Advance Micro Device) จัดเป็นผู้ผลิต CPU รายใหญ่อันดับสอง CPU ที่เด่นใน ช่วงนี้ของ AMD คือ Duron และ Thunderbird ซึ่งเป็น CPU ราคาถูกและ มีประสิทธิภาพสูง และยังมีผู้ผลิตอย่าง Via (Cyrix) ซึ่งผลิต CPU ตระกูล MI, MII, MIII จัดเป็น CPU ระดับต่ำราคาถูก
Harddrive
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลหรือ Software ที่เราต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
Mother Board
เป็นแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จะเชื่อมต่อหรือติดตั้งบน Mother Board (Main Board) นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น บน Mother Board จะประกอบไปด้วย ChipSet 2 ตัว คือ North Bridge และ South Bridge ซึ่ง North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับ CPU เช่น Memory ส่วน South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์ I/O (Input and Output) และบน Mother Board ยังประกอบไปด้วย Expension Slot ซึ่งใช้เสียบ Card ต่าง ๆ เช่น VGA Card ซึ่ง Expension Slot มีด้วยกันหลายแบบ ที่พบเห็นกันอยู่ได้แก่ 1)ISA Slot ซึ่งจะเป็น Slot สีดำมีทั้งแบบ 8 bit และ 16 bit 2) EISA Slot (Vesa Local Bus) จะเป็น Slot สีดำ แบบ ISA และมีช่องสีน้ำตาลเพิ่มเข้ามา เป็นSlot 32 bit 3) PCI Slot จะเป็น Slot สีขาว มีทั้งแบบ 32 bit และ 64 bit ปัจจุบันเป็น Slot ที่ใช้มากที่สุด
Main Memory
เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่
1) SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPage และยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น2) DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAM ที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน 3) RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAM เป็น RAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, และ 850i ใช้กับ Pentium III และ Pentium IV 4) DDR SDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีดความสามารถให้กับ SDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว 2 เท่า
5)VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC

Display Card
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณภาพ เพื่อแสดงผลภาพออกทางจอภาพ ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่น เกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากว่ามีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT และ ช่องต่อ Panel Monitor (LCD Monitor) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์
Sound Card

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการทำเป็น Home Theater Sound Card ในปัจจุบันจะสนับสนุนการต่อลำโพง 4 ตัว Card บางตัวยังมีตัวถอด รหัส Dolby Digital ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียงรอบทิศทางที่ใช้ในภาพยนตร์ และยังสนับสนุนการสร้างเสียง 3 มิติ เพื่อสร้างความ สมจริงในการเล่น เกมส์อีกด้วย เมื่อก่อน Sound Card จะติดตั้งบน ISA Slot แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PCI Slot ซึ่งทำให้ทำงาน ได้เร็วขึ้น และใช้การทำงานของ CPU น้อยลง เพิ่ม Function การทำงานได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงมากด้วย
CD-rom Drive
ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มีอยู่ 2 แบบ คือการหมุนด้วยความเร็วคงที่ และการหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่ ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบ CDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลแบบคงที่ตลอด แต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueX ซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจนความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับในปัจจุบัน นี้ DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ CDROM DRIVE
Case
Case เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดค้นรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาดปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีการป้องกันไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับชนิดของ Mother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น
CPU Fan
พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากว่า CPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิดความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพได้ ปัจจุบันพัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมาใช้เป็นวัสดุแทนอลูมิเนียม เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อช่วยระบายความร้อน
Monitor
Monitor เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(monitor ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดีกว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่าจอปกติพอสมควร ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต
Mouse
Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปคือตำแหน่งที่มีการ Click ซึ่ง Mouse มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่1)Mouse แบบปกติ ที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม 2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณและมีตัวรับสัญญานที่ต่อกับเครื่องคอม
3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse ใช้การอ่านค่าจากการสะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว
4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน
Keyboard
keyboard เป็นอีกหนึ่ง Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีต keyboard จะมี key อยู่ 101-102 key แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวนมากทำให้มี key เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของคนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่ม function Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volume ของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น
Floppy Drive
Floppy Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Drive แล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive, Jazz Drive, SuperDrive และล่าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที
CAM
เป็นอุปกรณ์ Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นหน้าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้
Scanner
Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำ Function ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพ (Attach) กับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan
Printer
Printer เป็นอุปกรณ์ Output Device ซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 แบบ คือ
Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ไม่เน้นความปราณีต
Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วและพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ๆ
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดมีความละเอียดสูงแต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพง เหมาะกับงานทุกประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์และเน้นความปราณีต
Speaker
ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบรอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียง Digital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF เพื่อรองรับการ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียงให้ดียิ่งขี้น
Power Supply
Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt
Modem
Modem เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็นสัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งในคอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้องใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบนสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น คือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี ADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับ Digital Modem หรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slot หรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี 2 แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus) ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
Network Card
Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Ethernet, ATM, ISDN) และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ (Bus, Star, Ring) เป็นต้น
(http://www.arc.dusit.ac.th/be/index.php?main=006)

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1. จอภาพ LCD กับ CRT ต่างกันอย่างไร จงประเมินประสิทธิภาพ
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
2. ประเมินข้อดี – ข้อเสียของเครื่องพิมพ์แบบ Impact Printer กับ None-impact Printer
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
3. จงบอกชื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อ ที่นำมาใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มา 5 ชื่อ
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
4. จงยกตัวอย่างคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ มา 4 ตัวอย่าง พร้อมทั้งอธิบายหน้าที่การทำงาน(ไม่ซ้ำกับข้อ 3)
ตอบ .............................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………

ปรับปรุง : เพิ่มเติม
LCD Monitor = Liquid Crystal Display
เป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Passive Matrix หรือ Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
2. Active Matrix หรือ Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก

จุดเด่นของ LCD
1. ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา ด้วยการทำงานที่ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบบ CRT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วยให้ประหยัดพื้นที่มากยิ่งขึ้น
2. พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่ จากเทคโนโลยีพื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CRT (CDT) ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
3. ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
4. ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตํ่ามาก
5. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CRT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
6. ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลาย ๆ แบบพร้อมกัน เนื่องด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพซ้อนจากหลายแหล่งข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆ ตัวมาใช้งาน
(http://www.bcoms.net/hardware/lcd.asp)

CRT Monitor = Cathode Ray Tube
การทำงานของจอประเภทนี้จะอาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอน ไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ
จอแบบ Shadow Mask จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็ก ๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad(ไทร-แอด :กลุ่มที่ประกอบด้วย 3 สี)
จอแบบ Trinitron จะมีการทำงานที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมาก (http://www.buycoms.com/upload/guide/CRT/CRT.htm)
จำแนกประเภทของเครื่อง Printer
1) เครื่องดอตเมตริกซ์พรินเตอร์ (Dotmatirx Printer)2) เครื่องฟิล์มพรินเตอร์ (Film Printer)3) เครื่องอิงค์เจ็ตพรินเตอร์ (Inkjet Printer) 4) เครื่องมินิพรินเตอร์ (Mini Printer)5) เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ (Laser Printer)6) เครื่องไลน์พริเตอร์ (Line Printer)7) เครื่องมัลตฟังก์ชัน (Multifunction Printer) หรือ All-In-One (AIO)8) เครื่องพล็อตเตอร์ (Plotter)

Dotmatix Printer เหมาะสำหรับห้างร้าน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องพรินเตอร์ที่สามารถ ทำสำเนาได้เครื่องชนิดนี้จะพิมพ์โดยใช้หัวเข็มกระทบลงไปที่กระดาษ ต้องซื้อผ้าหมึกและทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินได้มาก เนื่องจากผ้าหมึกมีอายุการใช้งานสูงกว่าใช้น้ำหมึกหลายเท่า เหมาะกับการพิมพ์ใบเสร็จต่างๆ และงานพิมพ์ทั่วไป
ในด้านการใช้งาน ตัวเครื่องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้กับกระดาษหลายประเภท ค่าความละเอียดในการพิมพ์อยู่ที่ 360*360 จุดต่อตารางนิ้วทั้งหมด จำนวนหัวเข็มมีตั้งแต่ 24 , 32 หัวเข็ม หัวเข็มมากความละเอียดก็จะเพิ่มขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรมีตั้งแต่ 192 ต่อCPS, 240, 264, 300, 360, 375, 390, 400, 432, 450 จนถึง 504 ต่อCPS (CPS คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรต่อนิ้ว)
จำนวนสำเนาที่สามารถพิมพ์ได้ เช่น 1 ต้นฉบับ 3 สำเนา, 1 ต้นฉบับ 4 สำเนา ไปจนถึง 1 ต้นฉบับ 7 สำเนา ใช้กระดาษต่อเนื่อง ความกว้างของกระดาษก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะถ้าความกว้างไม่พอก็ทำให้ไม่สามารถพิมพ์งานได้

Inkjet Printer (เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยรวม สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้)
เหมาะสมกับผู้ใช้ทั่วไปทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุด
มีราคาตั้งแต่หลักพัน-หลักหมื่น เครื่องชนิดนี้จะพิมพ์งานโดยใช้ตลับน้ำหมึก เวลาเลือกซื้อต้องดูด้วยว่า เครื่องรุ่นนั้นใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหน รุ่นอะไร ตลับสีและดำราคาเท่าไร แต่ละยี่ห้อราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป
คุณภาพของน้ำหมึกจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย รุ่นตลับสีแบบรวมจะมีข้อเสียถ้าสีหนึ่งสีใดหมดต้องเปลี่ยนทั้งตลับ หากผู้ใช้เน้นทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ ควรใช้ตลับหมึกสีแบบแยก
ค่าความละเอียดต้องไม่ต่ำกว่า 1200*1200 จุดต่อตารางนิ้ว แต่สำหรับผู้ที่ทำงานกราฟิกควรอยู่ที่ 4,800 * 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ขนาดช่องใส่กระดาษก็ปกติ A4 หากมีทุนหน่อยก็ เลือกเครื่องที่ใส่กระดาษขนาด A3 ได้ด้วย

Laser Printer ( เหมาะกับการใช้งานร่วมกันในผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความละเอียด สำนักงานขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มี งานเอกสารปริมาณที่มาก)
แตกต่างกับ Inkjet อย่างเห็นได้ชัด ในเรื่องของปริมาณการพิมพ์ เครื่องชนิดนี้จะสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า ใส่กระดาษได้มาก รวดเร็วกว่า มีความคมชัดสูงทั้งพิมพ์สี และขาวดำ และยังสามารถแชร์การทำงานกับผู้ใช้หลายคนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ในเรื่องของราคาอาจจะมีราคาสูงนิดหน่อย แต่ก็คุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ส่วนในการเลือก ซื้อควรดูที่ฟังก์ชันการทำงานเป็นหลักว่าเหมาะสมกับงานของเราหรือไม่ ถ้ามีฟังก์ชันมากก็จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น สำหรับในการทำงานร่วมกันหลายคน
เลเซอร์พรินเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ขาว-ดำ (Monochome Laser Printer) และเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์สี (Color Laser Printer) เครื่อง Laser มีความละเอียดทั้งแต่ 600 * 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1,200*x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ในโหมดขาว – ดำ พิมพ์ได้ตั้งแต่ 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนโหมดสีตั้งแต่ 6 แผ่นต่อ นาทีขึ้นไป
หน่วยความจำของเครื่องพรินเตอร์ มีตั้งแต่ 8 MB, 16 MB, 32 MB ไปจนถึง 96 MB โทนเนอร์(น้ำยา:หมึก) ก็มีส่วนสำคัญ ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็จะไม่คุ้มค่าที่จะใช้งาน กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้ กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึง
ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)หน่วยความจำ (Memory Unit)หน่วยแสดงผลลัพธ์

(Output Unit)หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
- แป้นพิมพ์ (Keyboard)
- เมาส์ (Mouse)
- สแกนเนอร์ (Scanner)
- แทร็คบอล (Trackball)
- จอยสติ๊ก (Joystick)
- จอภาพสัมผัส (Touch Screen)
- กล้องดิจิตอล (Digital Camera)

หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุมหน่วยความจำหลักทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ
1. แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้
2.รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร
3.cache เป็นหน่วยความจำใช้บันทึกเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนส่งให้คอมพิวเตอร์ใช้และช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วหน่วยความจำสำรอง
- ใช้เป็นส่วนเพิ่มหน่วยความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก โดยปกติแล้วหน่วยความจำสำรองจะมีความจุมากและมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่า เช่น ฮาร์ดดิสก์, ฟลอบปี้ดิสก์หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้ มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ซอฟท์แวร์ระบบซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) ตัวแปลภาษา ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ซอฟท์แวร์ประยุกต์ การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กรหน่วยวัดความจุของแรม
กิโลไบต์ KB 10^3เมกะไบต์
MB 10^6จิกะไบต์ GB
10^9เทระไบต์ TB
10^12
Data Communication คือ การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์Procedures คือ ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะบางอย่างจากคอมพิวเตอร์ประเภทคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคํานวณมาก เช่น งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ งานพยากรณ์อากาศ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงมาก
2. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร็ที่มีประสิทธิภาพตํ่ารองจาก Super computerและความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนํ าไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3. Mini Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุตํ่ากว่าระบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์จะทํางานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user system) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนํามาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี
4. Micro Computer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก นํ้าหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก

งานสวนพฤกศาสตร์

รหัสพรรณไม้ 7-30240-001-065/1

ลำต้น

ใบ

ดอก



ผล


ชื่อพื้นเมือง ทัมทิม
เซียะลิ้ว (จีน)
ทับทิม (ภาคกลาง)
พิลา (หนองคาย)
พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน)
มะเก๊าะ (ภาคเหนือ)
หมากจัง (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Punica granatum L. var. granatum
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE
ชื่อสามัญ -
ประโยชน์ ผลสุกรับประทานได้

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม ความสูง 3.8 เมตร ลำต้น เป็นลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง ผิวลำต้นหยาบขรุขระ ต้นแก่สีเทาดำ เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ไม่มีน้ำยาง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียว ขนาดแผ่นใบ 2.2 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร แผ่นใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง ผล เป็นผลสด สีแดง รูปกลม เมล็ด ภายใน 1 ผลมีเมล็ดหลายเมล็ดสีชมพูเรื่อๆ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านต่างๆ

การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN) - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้ - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่ - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วยประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบันประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น